วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วันสำคัญทางศาสนา


คลิ๊กดูรายละเอียด วันมาฆบูชา
 วันมาฆบูชา : โ อ ว า ท ป า ฏิ โ ม ก ข์

ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ หรือ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ในปีอธิกมาส

   เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณภายใต้ต้นอัสสัตถพฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ พระองค์ประทับเสวยวิมุติสุขในเขตปริมณฑลนั้นเป็นเวลา ๗ สัปดาห์ จากนั้นจึงเสด็จไปโปรดคณะปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี » อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันวิสาขบูชา
 วันวิสาขบูชา : ประสูติ - ตรัสรู้ - ปรินิพพาน
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖

ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสา - ขบุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗ » อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันอัฏฐมีบูชา
 วันอัฏฐมีบูชา : วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ
ตรงกับ วันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) 

ความหมาย เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา" » อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันอาสาฬหบูชา
 วันอาสาฬหบูชา : พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘

   วันอาสาฬหบูชา เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนา เพราะเป็นครั้งแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง พระธรรมเทศนาแก่ปัญจวัคคีย์ ทั้ง 5 คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสชิ ซึ่งล้วนแล้วแต่ เป็นผู้อุปฐากพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาอยู่ พระธรรมที่พระพุทธองค์ทรงเทศนาในครั้งนี้มีชื่อว่า "ธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร" ซึ่งได้แก่อริยสัจ 4 ซึ่งหมายถึง ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้ว โกญฑัญญะ ก็สำเร็จพระโสดา รู้ตามกระแสพระธรรมของพระพุทธเจ้า ดังนั้นจึงนับได้ว่า วันนี้ เป็นวันแรกที่มีพระรัตนตรัยครบเป็นองค์ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า นับเป็นวันแรกที่ พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา » อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันเข้าพรรษา
 วันเข้าพรรษา
ตรงกับวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ จนถึง วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

   ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังทรงมีพระชนม์อยู่ ได้ทรงเสด็จ ไปยังทุกแห่งหน เพื่อสั่งสอนหลักธรรมอันประเสริฐ จนมีพุทธสาวกมากมาย โดยมุ่งเน้นให้เกิดประโยชน์สุขแก่หมู่มวลมนุษย์โลก พระองค์ได้เสด็จไปยังถิ่นทุรกันดาร ในทุกฤดูกาล ต่อมา ปรากฏว่าในช่วงพรรษาหรือช่วงฤดูฝนได้มีผู้ร้องขอต่อพระองค์ว่าได้เกิดความเสียหาย แก่ข้าวกล้าเพราะถูกเหยียบโดยพุทธบริษัท ซึ่งไม่ได้เจตนา ดังนั้นพระองค์จึงออกพุทธบัญญัติกำหนดให้ พระสงฆ์ทุกรูป จำพรรษา เป็นหลักเป็นแหล่งในช่วงฤดูฝน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนกระทั่งถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 นับเป็น เวลา 3 เดือน ในวันเข้าพรรษานี้ จะมีการทำบุญตักบาตร ถวายผ้าอาบน้ำฝนและจตุปัจจัยแก่ พระภิกษุ สามเณร รวมทั้งยังมีการ ถวายเทียนพรรษา แก่วัดอีกด้วย » อ่านต่อ


คลิ๊กดูรายละเอียด วันออกพรรษา
 วันออกพรรษา
ตรงกับวัน ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ » อ่านต่อ

 หลังจากวันออกพรรษาแล้วมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ชาวพุทธนิยมทำกันมากคือ การทอดกฐิน[รายละเอียด]


คลิ๊กดูรายละเอียด วันโกน-วันพระ
 วันโกน - วันพระ
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำ กับ ๑๔ ค่ำ และแรม ๗ ค่ำ กับแรม ๑๔ ค่ำ ของทุก เดือน ( หรือ แรม ๑๓ ค่ำ หากตรง กับเดือนขาด ) ซึ่งเป็นวันก่อนวัน พระ ๑ วัน นั่นเอง
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ กับ ๑๕ ค่ำ และ แรม ๘ ค่ำ กับแรม ๑๕ ค่ำ ของทุกเดือน(หากตรงกับเดือนขาด อาจเป็น แรม ๑๔ ค่ำ )» อ่านต่อ

การละเล่นของไทย



              ความหมายการละเล่น คำว่า “การละเล่น” หมายถึง การกระทำหรือกิจกรรมใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจ ซึ่งมักมีกติกาการเล่นหรือการแข่งขันง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อนมากนัก จุดประสงค์ส่วนใหญ่ มุ่งเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน เพื่อออกกำลังกาย และก่อให้เกิดความสามัคคีทั้งระหว่างผู้เล่นและผู้ชม กติกาอาจกำหนดขึ้นไว้ก่อนและเคยปฏิบัติมาแล้วหรือ ตกลงกันตั้งขึ้นขณะจะเริ่มเล่นก็ได้ คือ ไม่ค่อยพิถีพิถันในเรื่องกติการมากนัก สรุปการละเล่นพื้นบ้านจึงหมายถึง กิจกรรมที่ประชาชนร่วมกันทำขึ้นเพื่อให้สนุกสนานและอื่น ๆ ในแต่ละท้องถิ่นหรือตำบลหมู่บ้าน บางอย่างอาจเหมือนกันกับท้องถิ่นอื่น และบางอย่างอาจแตกต่างกันไปบ้างตามความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ การละเล่นต่างกับกีฬา การละเล่นแตกต่างจากกีฬาตรงที่การละเล่น จัดทำเพื่อมุ่งความสนุกสนานเป็นใหญ่ ไม่มุ่งที่จะเอาชนะกันอย่างจริงจัง ทั้งผู้เล่นก็ไม่จำเป็นต้องได้ฝึกซ้อมเตรียมตัวมาก่อนแต่อย่างใด คือ จะเล่นเมื่อไรก็อาจเข้าร่วมกิจกรรมเลยก็ได้ ส่วนกีฬา หมายถึง การละเล่นที่ต้องใช้กำลังพอสมควร การแข่งก็มีกติกาวางไว้แน่นอน และเป็นการกระทำที่ สลับซับซ้อน มีกลวิธีการเล่นและผู้เล่นซึ่งเรียกว่า นักกีฬา ก็ต้องได้รับการฝึกฝนมาก่อนพอสมควร ทั้งมีเทคนิคหรือกลวิธีการเล่นต่าง ๆ มากมาย เพื่อหวังให้ได้ชัยชนะ และการเล่นกีฬา ไม่ว่าจะไปเล่นที่ไหน ก็ต้องเล่นแบบนั้น เหมือนกัน เพราะมีกติกากำหนดไว้เป็นการแน่นอนตายตัวอยู่แล้ว การละเล่นพื้นบ้านจึงแตกต่างไปจากกีฬา ตรงที่เป็นการเล่นแบบง่าย ๆ เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน มากกว่าหวังแพ้ชนะเช่นการเล่นกีฬา แต่การละเล่นบางอย่างก็อาจอนุโลมเข้าเป็น นักกีฬา โดยยากที่แยกจากกันอย่างเด็ดขาดคืออาจเป็นกึ่งกีฬากึ่งการละเล่น แต่คนโบราณ ภาคอีสาน นิยมเรียกการละเล่นว่า การเล่นกันทั้งนั้น ไม่นิยมเรียกว่า กีฬาแม้จะมีการแข่งขันกันเหมือนกับการเล่นกีฬาก็ตาม               ความสำคัญของการละเล่น ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า ธรรมชาติของมนุษย์เกิดมาย่อมมีการเคลื่อนไหว จะอยู่นิ่งไม่ได้ ยิ่งเป็นเด็กแล้วจะต้องมีการเคลื่อนไหวบ่อย ๆ ทั้งนี้ เพื่อบริหาร ร่างกายให้มีการเจริญเติบโต การเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายนับเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งของมนุษย์ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตลอดถึงผู้สูงอายุและมนุษย์มีนิสัยชอบสังคม คือ ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม จึงต้องมีการคบหาสมาคมกัน และมีการระบายออกทางจิตใจ เพื่อให้มีความสบายทั้งกายและใจด้วย การละเล่นจึงเป็นการแสดงออกของการเชื่อมความสามัคคีของคน ทำให้คนคบหากันได้อย่างสนิทสนมจึงนับเป็นนันทนาการอย่างหนึ่ง นอกจากนี้การละเล่นเมื่อมีการจัดเป็นระบบหรือแบบแผน มีกติกาให้คนในกลุ่มปฏิบัติ ย่อมเป็นการแสดงถึงความเจริญงอกงามของคนในกลุ่มนั้น และเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งด้วย อันแสดงถึงความเป็นผู้มีวัฒนธรรมของคนกุ่มนั้นด้วย การละเล่นจึงเป็นเครื่องช่วยส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทั้งกายและจิตใจของคน ทำให้คนได้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และความสามัคคีกลมเกลียวก้าวหน้านับเป็นวัฒนธรรมได้อย่างหนึ่ง ดังนั้นหากได้มีการฟื้นฟู แก้ไขเปลี่ยนแปลงและส่งเสริมการละเล่นของคนในกลุ่ม ในแต่ละหมู่บ้านให้คงมีอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ นอกจากประชาชนได้ออกกำลังกายและทำให้จิตใจสบายแล้ว ยังทำให้คนในกลุ่มอยู่ด้วยกันด้วยความรักใคร่กลมเกลียวกัน และมีความสุขด้วย การละเล่นพื้นบ้านจึงนับมีความสำคัญ ซึ้งเราควรจะได้มีการอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ และหาทางส่งเสริมหรือพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ประโยชน์ของการละเล่น เนื่องจากการละเล่นมีความสำคัญดังกล่าวแล้ว การละเล่นจึงมีประโยชน์สรุปได้ดังนี้

             1. เป็นการช่วยบริหารร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ในขณะที่แสดงการละเล่นร่างกายได้เคลื่อนไหว การละเล่นบางอย่างได้มีการออกแรงและแข่งขันกันด้วย จึงทำให้ผู้เล่นได้บริหารร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายได้ด้วย อันเป็นผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงมี สุขภาพพลานามัยดี มีอำนาจต้านทานโรค ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีเพลิดเพลิน เนื่องจากการละเล่นเป็นนันทนาการส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจร่าเริงแจ่มใส จึงทำให้จิตใจสบาย มีอารมณ์ดี เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้แสดงการละเล่น และคลายความตึงเครียดของประสาทได้เป็นอย่างดีด้วย
             2. เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี รักหมู่คณะ การละเล่นพื้นบ้านแทบทุกอย่าง จะมีคนร่วมกันเล่นคราวละหลาย ๆ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมชมและการสนับสนุนการแสดงการละเล่นด้วย บุคคลเหล่านี้จะร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มีส่วนร่วมการแข่งขัน การแสดงหรือร่วมสนุกสนานกับกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อได้ร่วมกิจกรรมกัน ความรักใคร่กลมเกลียว ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ย่อมมีขึ้นดุจญาติพี่น้องอันแท้จริง ย่อมก่อให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ บางโอกาสเมื่อผู้ใดมีธุระการงาน ได้รับความเดือดร้อน หรือมีความจำเป็นอะไรบางอย่าง ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้สนิทคุ้นเคยเหล่านั้นเป็นอย่างดี ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อสู้กล้าหาญและมีน้ำใจนักกีฬา การละเล่นบางอย่างย่อมจะมีการต่อสู้และแข่งขันกัน ระหว่างบุคคลต่อบุคคลและหมู่คณะต่อหมู่คณะ การต่อสู้นี้ย่อมต้องอาศัยความสามารรถทั้งด้านกำลังกายและกำลังใจ ผู้ใดได้แข่งขันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจเข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เป็นการฝึกคนให้รู้จักต่อสู้และกล้าหาญ ทั้งเป็น การอบรมให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นต้น นับเป็นการสร้างเสริมนิสัยที่ดีแก่ผู้แสดงการละเล่น
             3. เป็นการส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ ก่อนแสดงการละเล่น ย่อมมีการปรึกษาหารือ และตกลงกันถึงวิธีการเล่นหรือกติกา การจัดหาอุปกรณ์ และค้นหาดัดแปลงวิธีการละเล่นแปลก ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติม เป็นการฝึกให้บุคคลเหล่านั้น รู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ควรฝึกให้มีขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชน ควรได้มีการฝึกให้มาก ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การละเล่นบางอย่าง เช่น การละเล่นของเด็ก เป็นการเลียนแบบของผู้ใหญ่ ทำให้เด็กมีจินตนาการและได้ฝึกปฏิบัติตามอย่างผู้ใหญ่ เป็นการฝึกให้มีปฏิญาณไหวพริบ ช่วยให้เกิดความรอบรู้บางอย่าง เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยครูอาจารย์อาจ นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และผลที่ได้จากการแสดงการละเล่น อาจนำไปใช้ เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไปด้วย
             4. เป็นการฝึกปฏิญาณไหวพริบ เพราะการละเล่นต่าง ๆ ส่วนมากมักจะมีการแข่งขันกัน การแข่งขันกันจะมีชัยชนะได้ จะต้องอาศัยปฏิญาณไหวพริบของผู้เล่นแต่ละคนประกอบด้วยหากผู้เล่นมีปฏิญาณไหวพริบดี ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้เล่นมีชัยชนะในที่สุด ในขณะเล่นผู้เล่นทุกคน ต้องพยายามใช้สมองหรือไหวพริบของตนเอง เมื่อมีการฝึกใช้สมองหรือไหวพริบบ่อย ๆ เข้า ย่อมจะช่วยให้ผู้ช่วยให้ผู้นั้นมีปฏิญาณไหวพริบดีขึ้น นอกนี้การละเล่นบางอย่างอาจช่วยฝึกการสังเกต และฝึกความจำด้วย ฝึกระเบียบวินัย การเชื่อฟัง และรู้จักหน้าที่ ธรรมดาการละเล่นย่อมมีกติกา ผู้เล่นต้องอยู่ในขอบข่ายของกติกา และจะต้องถือระเบียบวินัยแห่งการเล่นและปกติการละเล่นย่อมมักมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสิน และจะต้องเชื่อฟังหัวหน้าทีมด้วย จึงจะทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และการเล่นถ้าจะให้ได้ชัยชนะข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผู้เล่นจะต้องรู้จักหน้าที่ของตน และพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การละเล่นจึงนับเป็นการฝึกสิ่งดีงามดังกล่าวไปในตัว ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กซุกซนหรือเล่นเป็นโทษ ตามธรรมชาติของเด็ก ย่อมไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ บางทีการไม่อยู่นิ่งของเด็กอาจเล่นเป็นโทษ เช่น ทำให้เกิดเสียหายหรืออันตรายต่อ ตนเองหรือผู้อื่น ตลอดทรัพย์สิ่งของด้วย เมื่อมีการละเล่นขึ้น เด็กย่อมมีโอกาสระบายออกซึ่ง ความอัดอั้นใน ด้านกำลังกายและจิตใจ ทั้งการละเล่นส่วนมากย่อมมีผู้ควบคุมและอยู่ในกรอบแห่งกติกาการละเล่นจึงช่วยให้ผู้เล่นได้แสดงออกในทางที่เหมาะที่ควรทั้งเป็นการแก้ปัญหาในด้าน ความซุกซนหรือการเล่นเป็นโทษของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้งานประเพณีสนุกสนานครึกครื้น ในงานเทศกาลตามประเพณี เช่น งานบุญตรุษสงกรานต์ งานบุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น นอกจากมี การคบงันและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว เมื่อมีการละเล่นประกอบด้วย ก็จะทำให้งานนั้น ๆ สนุกสนาน ครึกครื้น เป็นการส่งเสริมให้งานมีชีวิต ชีวา ช่วยทำให้มีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ทำให้ผู้ร่วมงาน รู้จัก คุ้นเคย และรักใคร่ สามัคคี มีความรื่นเริงบันเทิงใจ
             5. เป็นการสร้างเสริมในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากการละเล่นพื้นบ้านบางอย่าง ประชาชนได้นำมาเล่นในงานประเพณี ช่วยให้งานนั้นสนุกสนานยิ่งขึ้น การละเล่นจึงนับมีส่วนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย นอกจากนี้การละเล่นยังเป็นมาดกตกทอด ลอกเลียนแบบต่อ ๆ กันมาแต่โบราณ เป็นเครื่องบอกถึง ความเจริญก้าวหน้า ของบรรพบุรุษเป็นการแสดงออกของวิถีชีวิต การพัฒนาสังคม ความสามัคคี กลมเกลียวก้าวหน้า จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และการละเล่นของบางท้องถิ่นก็แตกต่าง กันไปจึงนับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การละเล่นพื้นบ้านนับว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากควรจะได้มีการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงมีอยู่ต่อไป และควรจะได้มีการดัดแปลงแก้ไขการละเล่น บางอย่างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ก็เชื่อว่า การละเล่นพื้นบ้าน คงจะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ข้อควรปฏิบัติการแสดงการละเล่น การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน มีข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ก่อนแสดงการละเล่น ก่อนแสดงการละเล่น ควรนะได้มีการเตรียมบางอย่างไว้ให้พร้อม เพื่อให้การละเล่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้นว่าจัดสถานที่ ที่เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมเรียบร้อย หากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ก็ควรเตรียมจัดหาให้พร้อม มีสภาพเรียบร้อย ครบถ้วนและปลอดภัย จัดสถานที่เล่นให้เหมาะสมแก่การเล่นแต่ละอย่าง ก่อนลงมือเล่นควรซักซ้อมวิธีการเล่น ตลอดจนกติกาให้เข้าใจ เพื่อมิให้มีปัญหา ถกเถียงกันภายหลัง จัดแบ่งผู้เล่นตามกำลังความสามารถพอเหมาะสมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรม
- ขณะแสดงการละเล่น ในขณะดำเนินการละเล่น ผู้ควบคุมหรือผู้เป็นหัวหน้าควรดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เล่นได้รับความเป็นธรรม และปลอดภัยมิให้ผู้เล่นเอาเปรียบซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น และพยายามดูแลการละเล่น ให้ดำเนินไปตามกติการหรือข้อตกลงให้เป็นที่สนุกสนานและพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น ภายหลังการละเล่น ควรเสนอแนะผู้เล่นให้มีใจกว้าง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ร่วมมือกันด้วยความยินดีสนุกสนาน หากมีข้อบกพร่องอะไรก็เสนอแนะ เพื่อจะได้แก้ไข หากจะมีการเล่นในโอกาสหน้า จัดเก็บอุปกรณ์และความสะอาดของสถานที่เล่นให้เรียบร้อย นัดหมายผู้เล่น หากจะมีการเล่นอีกในวันต่อไป เป็นต้น ส่งเสริมการวิธีการละเล่น การละเล่นพื้นบ้านมีความสำคัญและให้ประโยชน์อย่างไรท่านก็ทราบแล้ว ซึ่งเราควรหาทางส่งเสริมให้คงมีอยู่ พยายามพัฒนาให้ก้าวหน้าและเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบอย่างแพร่หลาย ตลอดจนการนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง และจริงจังยิ่งขึ้นกว่าเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การส่งเสริมการละเล่นที่ควรดำเนินการ ได้แก่ มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่งกำลังจะสูญหายไปให้คงมีอยู่ โดยให้คิดว่าการละเล่นเป็นมรดกของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งอนุชนรุ่นหลังควรจะต้องอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ตลอดต่อไป ให้มีการค้นคว้าบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านขึ้นไว้เป็นหลักฐาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและปฏิบัติ พยายามเผยแพร่ผลงานที่ค้นคว้า ให้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วกัน ผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่ที่มี่ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน ควรให้ความร่วมมือ ชี้แจงแนะนำและถ่ายทอดวิธีการละเล่นที่เคยและเคยปฏิบัติมา ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ โดยการชี้แจงให้เข้าใจหรือสาธิตวิธีการละเล่นให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ และผู้ที่ประชาชนเชื่อถือ ฯลฯ ควรจะได้เป็นความสำคัญและหาทางสนับสนุน ให้มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านขึ้น แนะนำคนอื่นให้เป็นความสำคัญของการละเล่น และร่วมจัดกิจกรรมการละเล่นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในงานทำบุญตามประเพณี ได้แก บุญตรุษสงกรานต์ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น สถานศึกษาหรือโรงเรียนควรเห็นความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน ครูอาจารย์ควรจะได้สนใจศึกษา ไม่ควรมองไปว่า การละเล่นพื้นบ้านที่เรามีอยู่เป็นของล้าสมัย และควรพยายามนำเอาการละเล่นพื้นบ้านไปฝึกให้เด็กได้เล่นกัน และการละเล่นบางอย่างครูอาจารย์อาจนำไปใช้ประกอบการเรียน การสอน ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐจัดงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ควรจะได้จัดให้มีการละเล่นพื้นบ้าน ในงานเทศกาล หรืองานประเพณีนั้น ๆ ควรพยายามนำการละเล่นไปเสริมกิจกรรมของงาน หากสามารถจัดทำได้เป็นประจำ จนให้ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการละเล่นและจัดให้มีการละเล่นในงานที่จัดขึ้นโดยสม่ำเสมอได้ยิ่งดี 

             1. เป็นการช่วยบริหารร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรง ในขณะที่แสดงการละเล่นร่างกายได้เคลื่อนไหว การละเล่นบางอย่างได้มีการออกแรงและแข่งขันกันด้วย จึงทำให้ผู้เล่นได้บริหารร่างกาย ผู้ร่วมกิจกรรมได้ออกกำลังกายได้ด้วย อันเป็นผลให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงจึงมี สุขภาพพลานามัยดี มีอำนาจต้านทานโรค ช่วยทำให้สุขภาพจิตดีเพลิดเพลิน เนื่องจากการละเล่นเป็นนันทนาการส่วนหนึ่ง ทำให้ผู้เล่นรู้สึกสนุกสนานเพลิดเพลิน จิตใจร่าเริงแจ่มใส จึงทำให้จิตใจสบาย มีอารมณ์ดี เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้แสดงการละเล่น และคลายความตึงเครียดของประสาทได้เป็นอย่างดีด้วย             2. เป็นการส่งเสริมให้เกิดความสามัคคี รักหมู่คณะ การละเล่นพื้นบ้านแทบทุกอย่าง จะมีคนร่วมกันเล่นคราวละหลาย ๆ คน นอกจากนี้ ยังมีผู้ร่วมชมและการสนับสนุนการแสดงการละเล่นด้วย บุคคลเหล่านี้จะร่วมกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ได้มีส่วนร่วมการแข่งขัน การแสดงหรือร่วมสนุกสนานกับกลุ่มคนเหล่านี้ เมื่อได้ร่วมกิจกรรมกัน ความรักใคร่กลมเกลียว ความคุ้นเคยเป็นกันเอง ย่อมมีขึ้นดุจญาติพี่น้องอันแท้จริง ย่อมก่อให้เกิดความรักใคร่สามัคคีในหมู่คณะ บางโอกาสเมื่อผู้ใดมีธุระการงาน ได้รับความเดือดร้อน หรือมีความจำเป็นอะไรบางอย่าง ก็จะได้รับความช่วยเหลือจากผู้สนิทคุ้นเคยเหล่านั้นเป็นอย่างดี ฝึกให้เป็นผู้มีน้ำใจต่อสู้กล้าหาญและมีน้ำใจนักกีฬา การละเล่นบางอย่างย่อมจะมีการต่อสู้และแข่งขันกัน ระหว่างบุคคลต่อบุคคลและหมู่คณะต่อหมู่คณะ การต่อสู้นี้ย่อมต้องอาศัยความสามารรถทั้งด้านกำลังกายและกำลังใจ ผู้ใดได้แข่งขันบ่อย ๆ ย่อมทำให้ร่างกายและจิตใจเข้มแข็งพร้อมที่จะเผชิญปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เป็นการฝึกคนให้รู้จักต่อสู้และกล้าหาญ ทั้งเป็น การอบรมให้เป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย เป็นต้น นับเป็นการสร้างเสริมนิสัยที่ดีแก่ผู้แสดงการละเล่น             3. เป็นการส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์ ก่อนแสดงการละเล่น ย่อมมีการปรึกษาหารือ และตกลงกันถึงวิธีการเล่นหรือกติกา การจัดหาอุปกรณ์ และค้นหาดัดแปลงวิธีการละเล่นแปลก ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติม เป็นการฝึกให้บุคคลเหล่านั้น รู้จักคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งการริเริ่มสร้างสรรค์นี้ควรฝึกให้มีขึ้น โดยเฉพาะเด็ก ๆ และเยาวชน ควรได้มีการฝึกให้มาก ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน การละเล่นบางอย่าง เช่น การละเล่นของเด็ก เป็นการเลียนแบบของผู้ใหญ่ ทำให้เด็กมีจินตนาการและได้ฝึกปฏิบัติตามอย่างผู้ใหญ่ เป็นการฝึกให้มีปฏิญาณไหวพริบ ช่วยให้เกิดความรอบรู้บางอย่าง เป็นการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิต โดยครูอาจารย์อาจ นำไปใช้ประกอบการเรียนการสอนในโรงเรียน และผลที่ได้จากการแสดงการละเล่น อาจนำไปใช้ เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันต่อไปด้วย             4. เป็นการฝึกปฏิญาณไหวพริบ เพราะการละเล่นต่าง ๆ ส่วนมากมักจะมีการแข่งขันกัน การแข่งขันกันจะมีชัยชนะได้ จะต้องอาศัยปฏิญาณไหวพริบของผู้เล่นแต่ละคนประกอบด้วยหากผู้เล่นมีปฏิญาณไหวพริบดี ย่อมมีส่วนช่วยให้ผู้เล่นมีชัยชนะในที่สุด ในขณะเล่นผู้เล่นทุกคน ต้องพยายามใช้สมองหรือไหวพริบของตนเอง เมื่อมีการฝึกใช้สมองหรือไหวพริบบ่อย ๆ เข้า ย่อมจะช่วยให้ผู้ช่วยให้ผู้นั้นมีปฏิญาณไหวพริบดีขึ้น นอกนี้การละเล่นบางอย่างอาจช่วยฝึกการสังเกต และฝึกความจำด้วย ฝึกระเบียบวินัย การเชื่อฟัง และรู้จักหน้าที่ ธรรมดาการละเล่นย่อมมีกติกา ผู้เล่นต้องอยู่ในขอบข่ายของกติกา และจะต้องถือระเบียบวินัยแห่งการเล่นและปกติการละเล่นย่อมมักมีผู้ตัดสิน บางทีมีหัวหน้าทีม ผู้เล่นจะต้องเชื่อฟังผู้ตัดสิน และจะต้องเชื่อฟังหัวหน้าทีมด้วย จึงจะทำให้การเล่นดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย และการเล่นถ้าจะให้ได้ชัยชนะข้อสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ผู้เล่นจะต้องรู้จักหน้าที่ของตน และพยายามทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด การละเล่นจึงนับเป็นการฝึกสิ่งดีงามดังกล่าวไปในตัว ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเด็กซุกซนหรือเล่นเป็นโทษ ตามธรรมชาติของเด็ก ย่อมไม่ชอบอยู่นิ่ง ๆ บางทีการไม่อยู่นิ่งของเด็กอาจเล่นเป็นโทษ เช่น ทำให้เกิดเสียหายหรืออันตรายต่อ ตนเองหรือผู้อื่น ตลอดทรัพย์สิ่งของด้วย เมื่อมีการละเล่นขึ้น เด็กย่อมมีโอกาสระบายออกซึ่ง ความอัดอั้นใน ด้านกำลังกายและจิตใจ ทั้งการละเล่นส่วนมากย่อมมีผู้ควบคุมและอยู่ในกรอบแห่งกติกาการละเล่นจึงช่วยให้ผู้เล่นได้แสดงออกในทางที่เหมาะที่ควรทั้งเป็นการแก้ปัญหาในด้าน ความซุกซนหรือการเล่นเป็นโทษของเด็กได้เป็นอย่างดี ช่วยทำให้งานประเพณีสนุกสนานครึกครื้น ในงานเทศกาลตามประเพณี เช่น งานบุญตรุษสงกรานต์ งานบุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น นอกจากมี การคบงันและจัดกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว เมื่อมีการละเล่นประกอบด้วย ก็จะทำให้งานนั้น ๆ สนุกสนาน ครึกครื้น เป็นการส่งเสริมให้งานมีชีวิต ชีวา ช่วยทำให้มีผู้มาร่วมงานมากขึ้น ทำให้ผู้ร่วมงาน รู้จัก คุ้นเคย และรักใคร่ สามัคคี มีความรื่นเริงบันเทิงใจ             5. เป็นการสร้างเสริมในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมและเอกลักษณ์ของท้องถิ่น เนื่องจากการละเล่นพื้นบ้านบางอย่าง ประชาชนได้นำมาเล่นในงานประเพณี ช่วยให้งานนั้นสนุกสนานยิ่งขึ้น การละเล่นจึงนับมีส่วนส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณีด้วย นอกจากนี้การละเล่นยังเป็นมาดกตกทอด ลอกเลียนแบบต่อ ๆ กันมาแต่โบราณ เป็นเครื่องบอกถึง ความเจริญก้าวหน้า ของบรรพบุรุษเป็นการแสดงออกของวิถีชีวิต การพัฒนาสังคม ความสามัคคี กลมเกลียวก้าวหน้า จึงนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม และการละเล่นของบางท้องถิ่นก็แตกต่าง กันไปจึงนับเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นด้วย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การละเล่นพื้นบ้านนับว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากควรจะได้มีการอนุรักษ์และส่งเสริมให้คงมีอยู่ต่อไป และควรจะได้มีการดัดแปลงแก้ไขการละเล่น บางอย่างให้เหมาะสมยิ่งขึ้น ก็เชื่อว่า การละเล่นพื้นบ้าน คงจะอำนวยประโยชน์แก่ประชาชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นอย่างมาก ข้อควรปฏิบัติการแสดงการละเล่น การแสดงการละเล่นพื้นบ้าน มีข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้- ก่อนแสดงการละเล่น ก่อนแสดงการละเล่น ควรนะได้มีการเตรียมบางอย่างไว้ให้พร้อม เพื่อให้การละเล่นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้นว่าจัดสถานที่ ที่เหมาะสม เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมเรียบร้อย หากจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ ก็ควรเตรียมจัดหาให้พร้อม มีสภาพเรียบร้อย ครบถ้วนและปลอดภัย จัดสถานที่เล่นให้เหมาะสมแก่การเล่นแต่ละอย่าง ก่อนลงมือเล่นควรซักซ้อมวิธีการเล่น ตลอดจนกติกาให้เข้าใจ เพื่อมิให้มีปัญหา ถกเถียงกันภายหลัง จัดแบ่งผู้เล่นตามกำลังความสามารถพอเหมาะสมกันทุกฝ่าย เพื่อความเป็นธรรม- ขณะแสดงการละเล่น ในขณะดำเนินการละเล่น ผู้ควบคุมหรือผู้เป็นหัวหน้าควรดูแลอย่างใกล้ชิด ให้ผู้เล่นได้รับความเป็นธรรม และปลอดภัยมิให้ผู้เล่นเอาเปรียบซึ่งกันและกัน แก้ปัญหาเมื่อเกิดขึ้น และพยายามดูแลการละเล่น ให้ดำเนินไปตามกติการหรือข้อตกลงให้เป็นที่สนุกสนานและพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น ภายหลังการละเล่น ควรเสนอแนะผู้เล่นให้มีใจกว้าง รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ร่วมมือกันด้วยความยินดีสนุกสนาน หากมีข้อบกพร่องอะไรก็เสนอแนะ เพื่อจะได้แก้ไข หากจะมีการเล่นในโอกาสหน้า จัดเก็บอุปกรณ์และความสะอาดของสถานที่เล่นให้เรียบร้อย นัดหมายผู้เล่น หากจะมีการเล่นอีกในวันต่อไป เป็นต้น ส่งเสริมการวิธีการละเล่น การละเล่นพื้นบ้านมีความสำคัญและให้ประโยชน์อย่างไรท่านก็ทราบแล้ว ซึ่งเราควรหาทางส่งเสริมให้คงมีอยู่ พยายามพัฒนาให้ก้าวหน้าและเผยแพร่ให้เป็นที่ทราบอย่างแพร่หลาย ตลอดจนการนำไปปฏิบัติกันอย่างกว้างขวาง และจริงจังยิ่งขึ้นกว่าเท่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ การส่งเสริมการละเล่นที่ควรดำเนินการ ได้แก่ มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านที่มีอยู่แต่เดิม ซึ่งกำลังจะสูญหายไปให้คงมีอยู่ โดยให้คิดว่าการละเล่นเป็นมรดกของบรรพบุรุษที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น ถือว่าเป็นวัฒนธรรมที่มีคุณค่า ซึ่งอนุชนรุ่นหลังควรจะต้องอนุรักษ์ให้คงมีอยู่ตลอดต่อไป ให้มีการค้นคว้าบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านขึ้นไว้เป็นหลักฐาน ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและปฏิบัติ พยายามเผยแพร่ผลงานที่ค้นคว้า ให้เป็นที่แพร่หลายโดยทั่วกัน ผู้ใหญ่หรือคนเฒ่าคนแก่ที่มี่ความรู้เกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้าน ควรให้ความร่วมมือ ชี้แจงแนะนำและถ่ายทอดวิธีการละเล่นที่เคยและเคยปฏิบัติมา ให้คนรุ่นหลังได้ทราบ โดยการชี้แจงให้เข้าใจหรือสาธิตวิธีการละเล่นให้ผู้ที่สนใจได้ทราบ ผู้นำท้องถิ่น เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ และผู้ที่ประชาชนเชื่อถือ ฯลฯ ควรจะได้เป็นความสำคัญและหาทางสนับสนุน ให้มีการฟื้นฟูการละเล่นพื้นบ้านขึ้น แนะนำคนอื่นให้เป็นความสำคัญของการละเล่น และร่วมจัดกิจกรรมการละเล่นในโอกาสต่าง ๆ เช่น ในงานทำบุญตามประเพณี ได้แก บุญตรุษสงกรานต์ บุญเข้าพรรษา บุญข้าวสาก บุญออกพรรษา เป็นต้น สถานศึกษาหรือโรงเรียนควรเห็นความสำคัญของการละเล่นพื้นบ้าน ครูอาจารย์ควรจะได้สนใจศึกษา ไม่ควรมองไปว่า การละเล่นพื้นบ้านที่เรามีอยู่เป็นของล้าสมัย และควรพยายามนำเอาการละเล่นพื้นบ้านไปฝึกให้เด็กได้เล่นกัน และการละเล่นบางอย่างครูอาจารย์อาจนำไปใช้ประกอบการเรียน การสอน ให้เกิดประโยชน์แก่เด็กให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เมื่อทางราชการหรือหน่วยงานของรัฐจัดงานอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ควรจะได้จัดให้มีการละเล่นพื้นบ้าน ในงานเทศกาล หรืองานประเพณีนั้น ๆ ควรพยายามนำการละเล่นไปเสริมกิจกรรมของงาน หากสามารถจัดทำได้เป็นประจำ จนให้ประชาชนมองเห็นความสำคัญของการละเล่นและจัดให้มีการละเล่นในงานที่จัดขึ้นโดยสม่ำเสมอได้ยิ่งดี 

คุณธรรมจริยธรรมของครู


วินัยคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู

วินัยคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู



                  การประเมินวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพครู เพื่อให้ข้าราชการครู และบุคลากรทางทางการศึกษามีและเลื่อนวิทยฐานะ(ชำนาญการพิเศษ) จะประเมินใน 6 เรื่อง ได้แก่
                  1.พฤติกรรมการรักษาระเบียบวินัย ได้แก่ การควบคุมการประพฤติปฏิบัติของตนเองให้อยู่ในกฎระเบียบของหน่วยงานและสังคมในกรณีมีความรับผิดชอบและซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ โดยยึดถือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อส่วนรวมเป็นสำคัญ
                  2.การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ได้แก่ พฤติกรรมการปฏิบัติทั้งพฤติกรรมส่วนตนและพฤติกรรมการปฏิบ้ติงาน ทั้งในเรื่องความสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  3.การดำรงชีวิตอย่างเหมาะสม ได้แก่ การประพฤติปฎิบัติตนในการดำรงชีวิตที่ยึดหลักความพอเพียง การหลีกเลี่ยงอบายมุข การรู้รักสามัคคีและวิถีประชาธิปไตยในการดำเนินชีวิต
                  4.ความรักและศรัทธาในวิชาชีพ ได้แก่ ความพึงพอใจและอุทิศเวลาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วยความวิริยะ อุตสาหะ โดยมุ่งผลสำเร็จที่เป็นความเจริญก้าวหน้าของการจัดการศึกษา
                  5.ความรับผิดชอบในวิชาชีพ ได้แก่ การปฏิบัติงานในหน้าที่โดยคำนึงถึงความถูกต้อง ความซื่อสัตย์สุจริต และผลประโยชน์ของหน่วยงานและผู้รับบริการเป็นสำคัญ
                  6.ค่านิยม และอุดมการณ์ของความเป็นครู และบุคลากรทางการศึกษา ได้แก่ ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ 





          วินัยและการรักษาวินัย  
    1.ครูต้องประพฤติตามจรรยาบรรณของวิชาชีพและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ
    2.ครูต้องสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยด้วยความบริสุทธ์ใจและมีหน้าที่วางรากฐานให้เกิดระบอบการปกครองเช่นว่านั้
    3.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต เสมอภาคและเที่ยงธรรม มีความวิริยะ อุตสาหะ ขยันหมั่นเพียร ดูแลเอาใจใส่รักษาประโยชน์ของทางราชการและต้องปฏิบัติตนตามมาตรฐานและจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างเคร่งครัด              
    4.ครูต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรี หรือนโยบายของรัฐบาลโดยถืประโยชน์สูงสุดของผู้เรียนและไม่ให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ              
    5.ครูต้องปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการโดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง              
    6.ครูต้องตรงต่อเวลา อุทิศเวลาของตนให้แก่ทางราชการและผู้เรียนจะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรมิได้ การละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินกว่าสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการเป็นความผิดวินัยร้ายแรง
   7.ครูต้องประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ        
   8.ครูต้องไม่กลั่นแกล้ง กล่าวหาหรือร้องเรียนผู้อื่นโดยปราศจากความเป็นจริง              
   9.ครูต้องไม่กระทำการหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำการหาประโยชน์อันอาจทำให้เสื่อมเสียความเที่ยงธรรม หรือเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ในตำแหน่งหน้าที่รชการของตน                 
 10.ครูต้องไม่คัดลอกหรือลอกเลียนผลงานทางวิชาการของผู้อื่นโดยมิชอบหรือนำเอาผลงานทางวิชาการของผู้อื่นหรือจ้างวานให้ผู้อื่นทำผลงานทางวิชาการเพื่อไปใช้ในการเสนอขอปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนวิทยฐานะหรือการให้ได้รับเงินเดือนในระดับที่สูงขี้น การฝ่าฝืนหลักการดังกล่าวนี้เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง                
  11.ครูต้องไม่เป็นกรรมการผู้จัดการหรือผู้จัดการหรือดำรงตำแหน่งอื่นใดที่มีลักษณะงานคล้ายคลึงกันนั้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท                
  12.ครูต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยต้องไม่อาศัยอำนาจและหน้าที่ราชการของตนแสดงการฝักใฝ่ ส่งเสริม เกื้อกูล สนับสนุนบุคคล กลุ่มบุคคล หรือพรรคการเมืองใด
   13.ครูต้องรักษาชื่อเสียงของตนและรักษาเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสียโดยไม่กระทำการใดๆ อันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว                    
            คุณธรรม จริยธรรมของครู                                  
        1.ครูต้องมีความขยันหมั่นเพียร                
        2.ครูต้องมีวินัยตนเอง              
        3.ครูต้องรู้จักปรับปรุงตนเอง             
       4.ครูต้องให้ความช่วยเหลือผู้อื่น           
       5.ครูต้องบำเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชน             
       6.ครูต้องเสียสละเพื่อสาธารณะประโยชน์          
       7.ครูต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจผู้อื่น               
       8.ครูต้องมีความกตัญญูกตเวที              
       9.ครูต้องไม่ประมาท               
     10.ครูต้องปฏิบัติต่อผู้อาวุโสในทางที่ดี         
     11.ครูต้องมีสัจจะและแสดงความจริงใจ               
     12.ครูต้องมีความเมตตากรุณา      
     13.ครูต้องมีความอดทน อดกลั้น               
     14.ครูต้องมีความซื่อสัตย์           
     15.ครูต้องมีระเบียบวินัยและตรงต่อเวลา          
     16.ครูต้องมีการให้อภัย              
     17.ครูต้องประหยัดและอดออม               
    18.ครูต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่               
    19.ครูต้องมีความรับผิดชอบ             
    20.ครูต้องจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

               จรรยาบรรณของวิชาชีพครู

                  1.ครูต้องรักษาวินัยที่บัญญัติเป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติไว้ในหมวดนี้โดยเคร่งครัดอยู่เสมอ

                  2.ครูต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
                  3.ครูต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
                  4.ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
                  5.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ
                  6.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ หรือผู้รับบริการ
                  7.ครูต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคโดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
                  8.ครูต้องช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
                  9.ครูต้องประสงค์ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข




ความหมายประเพณีไทย

ความหมายประเพณีไทย
คำว่า ประเพณี หมายถึง ขนบธรรมเนียม แบบแผน (พจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน, 2493 : 569)
- ประเพณี คือ ความประพฤติที่หมู่ชนหมู่หนึ่งถือเป้นธรรมเนียม หรือเป็นแบบแผนสืบต่อกันมาจนเป็นพิมพ์เดียวกัน ถ้าใครในหมู่ประพฤตินอกแบบก็เป็นการผิดประเพณี (เสฐียรโกเศศ, 2500/ประเพณีไทย/บทนำ)
- ประเพณีเป็นเรื่องของพิธีปฎิบัติสืบๆ มามีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขคงไว้บ้างประเพณีไทยแสดงถึงความสัญลักษณ์ของชาติ(แปลก สนธิรักษ์, 2523: 193)
- โดยเนื้อหาสาระแล้ว ประเพณี คือ สิ่งที่คนในสังคมส่วนรวมสร้างขึ้นให้เป็นมรดกที่ผู้เป็นทายาทจะต้องรับไว้และปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป รวมทั้งการเผยแพร่ แก่คนในสังคมอื่นอีกด้วย
ประเภทของประเพณี
ประเพณีนั้นเราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. จารีตประเพณี (Mores) คือ ประเพณีที่ต้องประพฤติเป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมและจรรยาของสังคม ถือกันว่ามีคุณค่าต่อบุคคลในสังคมนั้นๆ ใครฝ่าฝืนหรือเฉยเมยถือว่าเป็นการละเมิดกฎของสังคม ผิดประเพณีของสังคม ถือเป็นความผิดความชั่วมีโทษ เช่น ประเพณีการแต่งงาน เป็นต้น
2. ขนบประเพณี (Institution) คือ ประเพณีที่วางเป็นระเบียบไว้ จะเป็นโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ตาม โดยตรง เช่น เขียนเป็นกฎหรือระเบียบให้กระทำร่วมกันมีข้ออ้างอิงเป็นตัวบทกฏเกณฑ์ โดยอ้อมหรือโดยปริยาย คือ รู้กันเอง ถือสืบๆกันมา คนในถิ่นนั้นปฎิบัติกันอย่างนั้นๆ เช่น ประเพณีทำบุณเลี้ยงพระของไทย เ็ป็นต้น
3. ธรรมเนียมประเพณี (Convention) คือ เรื่องเกี่ยวกับธรรมดาสามัญของสามัญชน ไม่ถือเอาผิดเอาถูก ไม่มีการลงโทษ ปรับไหมเหมือนจารีตประเพณี ไม่มีระเบียบเคร่งครัดเหมือนขนบประเพณี ผู้ทำผิดประเพณีนี้ไม่ถือเป็นเรื่องเสียหายหรือมีโทษมากนัก เพียงแต่ถือว่าผู้ผิดประเพณีเป็นผู้ไร้ีการศึกษา ขาดคุณสมบัติผู้ดี เช่น การแต่งกายไม่ถูกกาลเทศะ การยืน การเดิน การนั่ง การนอน อันไม่เหมาะสม เป็นต้น
ลักษณะของประเพณีไทย
ประเพณีไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. ประเพณีส่วนบุคล ได้แก่ ประเพณีเกี่ยวกับการแต่งงาน ประเพณีการเกิด ประเพณีการตาย ประเพณีการบวช ประเพณีการขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีทำบุญอายุ เป็นต้น
2. ประเพณีส่วนรวม ได้แก่ ประเพณีทางศาสนาต่างๆ เช่นประเพณีการทำบุญเข้าพรรษา ออกพรรษา ประเพณีตรุษ สารท ลอยกระทง ประเพณีเทศกาลสงกรานต์ และประเพณีวันสำคััุญทางพระพุทธศาสนา เป็นต้น
คัดลอกจาก บรรเทิง พาพิจิตร.ประเพณี วัฒนธรรมไทย และคติความเชื่อ.กรุงเทพมหานคร:โอเดียนสโตร์,2532.